วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555


      การสื่อสารในการเรียนการสอน คือ การพยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอนพิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นตามลักษณะการเรียน  การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
       การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร
    ความหมายของการสื่อสาร
 -การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย เป็นการที่ผู้ส่งซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ แนวความคิดเหตุการณ์ ฯลฯ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชนหรือสถาบันเพื่อให้ผู้รับทราบข่าวสารร่วมกัน
 - การสื่อสารหมายถึงการถ่ายทอดข่าวสารที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง(Miller)
 - การสื่อสาร คือการมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร(WilburSchramm)
           การสื่อสารการสอน การสอนเป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (Information) เพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับดังนั้นการจัดประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอย่างเหมาะสมในการเรียนการสอน จึงเป็นเหตุผลหรือหลักการสำคัญในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เทคโนโลยีการสอน จะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอน และยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสำคัญ  เทคโนโลยีการสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ เช่น 
-  การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) 
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Based Instruction : CB)
 - การสอนโดยใช้ระบบเสียง (Audio-tutorial Systems)
-  การสอนแบบโมดุล (Modular Instruction)
เกมและสถานการณ์จำลอง (Game and Simulation) เป็นต้น
 ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  
เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1.กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย หรือวัตถุประสงค์ย่อย
 2.การทดสอบก่อนการเรียน (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
 3.ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
 4.การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน
 วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
เพื่อแจ้งให้ทราบ(inform)
เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง 
เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ
วัตถุประสงค์ของผู้รับสาร
เพื่อทราบ
เพื่อศึกษา
เพื่อหาความพอใจ
เพื่อการกระทำหรือตัดสินใจ
ลักษณะของการสื่อสาร
วิธีของการสื่อสาร แบ่งออกได้
 3 วิธีคือ
1. การสื่อสารด้วยวาจา(oral communication)เช่นการพูด การร้องเพลง2. การสื่อสารที่มิใช่วาจา (NonverbalCommunication)และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน
(written communication)เช่นภาษามือ ท่าทาง และ ภาษาเขียน
3.การสื่อสารด้วยการจักษุสัมผัสหรือการเห็น(visual Communication)
รูปแบบของการสื่อสาร
การสื่อสารทางเดียว(one - way communication)
การสื่อสารสองทาง(two- way communication)ลักษณะของการสื่อสาร
ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้ 4 ประเภทคือ
การสื่อสารในตนเอง(intrapersonal or selfcommunication)หมายถึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่นการเขียนและอ่านหนังสือ
การสื่อสารระหว่างบุคคล(InterpersonalCommunication)
การสื่อสารแบบกลุ่มชน(group communication)
การสื่อสารมวลชน(mass communication)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (sender, communicator or source)
2. เนื้อหาเรื่องราว(message)
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร(media orchannel)
4. ผู้รับ หรือกลุ่มเป้าหมาย(receiver or targetaudience)
5. ผล(effect)
6. ปฎิกริยาสนอง
องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน

1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน หมายถึงครู ผู้สอนวิทยากร ผู้บรรยาย
2. เนื้อหาเรื่องราว(message)=วิชาที่เรียน
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร(media or channel)ได้แก่สื่อการสอน
4. ผู้รับ หรือกลุ่มเป้าหมาย(receiver or targetaudience) = นักเรียน
5. ผล(effect)จากการเรียนการสอน=ผลของการเรียนรู้
6. ปฎิกริยาสนองกลับ(feedback) ของนักเรียน
 ผู้ส่งสาร (Source or Sender)
• บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการในการถ่ายทอดสารจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่ง ทั้งจะโดยตั้งใจก็ตาม
• ผู้ส่งสารอาจทำหน้าที่เป็น แหล่งสาร และ ผู้เข้ารหัส (Encoder) ในเวลาเดียวกัน หรือทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้สื่อ(Medium/Media/Channel)
• ช่องทางหรือพาหะที่จะนำตัวสารไปสู่ผู้รับ
• ตัวกลางในการนำสารจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับลักษณะผู้รับสารที่วิเคราะห์ตามลักษณะทางประชากรศาสตร์
• อายุ     
• เพศ     
• การศึกษา  
• ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม    
• ภูมิลำเนา




อุปสรรค์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติผู้ส่งสารและผู้รับสาร
อุปสรรคที่เกิดจากสื่อ
อุปสรรค์ที่เกิดจากสาร
อุปสรรคอื่น ๆ
 คุณสมบัติที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสาร
• จำนวนช่องทางการสื่อสาร
• ค่าใช้จ่ายในการใช้สื่อ
• ความซับซ้อนในการจำหน่าย
• ความถี่ในการส่งสาร
• ความยืดหยุ่นในการส่งสาร
• การเก็บรักษาและค่าใช้จ่ายในการรักษา